วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

PIC Microcontroller

  ไม่นานมานี้เกิดความรู้สึกคิดถึงอดีตสมัยตอนเรียน ปวส ประมาณปี 2005 เคยสั่งของมาทำเครื่องอ่าน/เขียนตลับเกมส์บอย(เจ๊งไปนานแล้ว) จากเว็บ wt.co.th ครบรอบ 6 ปีจึงสั่งของอีกทีแต่คราวนี้มาทำ PIC กันบ้างครับ เรื่องแปลกใจอีกอย่างตอนสั่งซื้อของกับ wt.co.th นั้นก็คือเขายังเก็บข้อมูลการสั่งซื้อของผม ในอดีตไว้ได้อย่างดีให้ได้ระลึกความหลังกันเลยทีเดียว
   สำหรับใครที่สงสัยว่า PIC มันคืออะไรหาคำตอบได้ที่ http://www.thaimcu.com/ ตอนแรกก็กะว่า จะซื้อบอร์ดทดลองสำเร็จจาก http://www.etteam.com/ หรือไม่ก็ http://www.thaieasyelec.com/ แต่ของที่ได้ง่ายๆ ผมไม่ค่อยจะชอบสานต่อ กลัวจะซื้อมาไว้เฉยๆ ก็เลยตัดสินใจที่จะหาอุปกรณ์ประกอบเอง มีเป้าหมายคือสร้างเจ้าตัวนี้ PICKit2 Lite (รายการอุปรณ์มีในลิงค์) โดยได้หาขอมูลแหล่งขายอุปกรณ์จากหลายๆที่ จนมาจบที่   wt.co.th นี่ก็เพราะว่าอุปกรณ์โดยเฉลี่ยราคาถูกและก็มี PIC เบอร์ 18F2550 (180 บาท) และ 16F877A (100 บาท) ที่ต้องการด้วย
  หลังจากซื้อมาแบบ พกง. โดยมีเหตุที่ผมที่ซื้อแบบ พกง. เพราะธนาคารที่ต้องโอนเงินก็อยู่ตรงข้ามกับ ไปรษณีย์ เวลาโอนเงินเสียค่าธรรมเนียม(+30 บาท) ตอนถามพนักงานเขาก็บอกว่า "พกง.เก็บเงินปลายทาง ค่าส่ง EMS คิดตามน้ำหนัก หรือประมาณ 120 บาท ส่วนถ้าโอน ค่าส่ง EMS คิดตามน้ำหนัก หรือประมาณ 100 บาท " สรุปว่ายังไงก็ต้องเข้าไปไม่โอนเงินก็ ไปเอาของ แต่ที่เห็นๆ คือ ถ้าสั่งแบบ พกง. ถูกว่า 10 บาท แต่ว่าตอนไปรับของมาแล้วในกล่องมีใบเสร็จ ค่าขนส่งแค่ 100 บาทเอง
  สำหรับของที่สั่งก็แพ็คมาในซองตามภาพ และจะเห็นว่าเขาขายตัวต้านทานเป็นแผงครับ 10 ตัวขึ้นไปต่อ หนึ่งค่าความต้านทาน (ตอนแรกสั่งทีละตัวสองตัว พนักงานขายก็เลยเมล์มาบอก)



วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ปากกาสี ดินสอสี กระดาษ

  เวลาที่จะต้องนั่งทำงานออกแบบ ขีดเขียนรวมถึงวาดภาพต่างๆ ผมเองนั้นไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์อยู่ตลอด โดยมากงานเหล่านี้ก็จะทำบนกระดาษมากกว่า เพราะมันให้ความรู้สึกถึงฝีมือจริงๆของเราในการทำงาน รวมถึงงานต้นแบบที่ได้ดูมีคุณค่า แต่ปัญหาเบื้องต้นที่ผมเจอก็คือจะใช้อุปกรณ์อะไรมาทำงาน ให้เราได้ผลลัพธ์ที่พอใจมากที่สุด งานที่ผมตั้งเป้าไว้ก็คือ เขียนโน๊ต ร่างต้นแบบโปรแกรม เกมส์ ตัวการ์ตูนต่าง
  ก็เลยตามหาเว็บต่างๆที่มีการทดสอบ การใช้ปากกา ดินสอ และสี แบบต่างๆ รวบรวมมาพอให้เห็นดังนี้
  Pen Reviews
  Uni-Ball Eye
  Uni-ball
  Copic Marker Airbrush
  Copic Marker

จริงๆแล้วยังมีเครื่องมือหลายๆอย่างที่เราสามารถใช้งานได้ แต่สำหรับผมเองก็สรุปได้ว่าผมควรใช้ ของไม่กี่ชิ้นได้แก่
 1. ดินสอกด วิธีเลือกของผมคือ เลือกขนาดที่เหมาะมือเขียนแล้วไม่รำคาญ ขนาดที่ใช้ 0.3mm 0.5mm แล้วก็แบบไส้แบนของ M.G เอาไว้แรเงา สำหรับยี่ห้อก็ตามความชอบ และกำลังทรัพย์ ของผมใช้ทั้ง M.G แบบใส้แบน กับ 0.5mm, Rotring แบบไส้ 0.3mm, Uni-Ball Kuru Toga แบบใส้ 0.5mm (ใส้หมุนๆ)
 2. ใส้ดินสอ เลือกของดีๆ ไว้ก่อนแพงหน่อยแต่ใช้งานดี ถ้าเป็นของถูก เวลาใช้ใส้มันหักเป็นว่าเล่น ยิ่งถ้ามือหนักๆ ถึงกับรำคาญ ของที่ให้ก็แทบจะซื้อตามยี่ห้อดินสอกดที่ให้ ดังที่กล่าวมาแล้ว ส่วนความเข้มโดยส่วนตัวจะใช้แค่ 2B นอกนั้นถ้าต้องการเข้มมากน้อยก็ควบคุมน้ำหนักมืออย่างเดียว
 3. ยางลบ ผมเลือก STAEDTLER กับ FABER-CASTELL ของดีหน่อยทำให้กระดาษไม่เสีย ลบง่าย ขี้ยางลบไม่กระจายเวลาลบ
 4. ปากกาตัดเส้น ปากาดำ สองแบบนี้ผมใช้ตัดเส้นและเพิ่มขอบภาพวาดเวลาลงสี ใช้ PIXMA MICRON 005 (0.2mm) กับ Uni-Ball Signo DX (0.38mm) เหตุผลที่เลือกเพราะเขียนลื่นและก็กันน้ำ และมีขายใกล้บ้านมากที่สุดในราคาไม่แพง
 5. ดินสอไม้ ผมใช้ทั้งแบบ Wax-Based กับ Water-Soluble (สีไม้ระบายน้ำ) ของ  COLLEEN ทั้งคู่ โดยส่วนตัวที่ใช้แล้ว มันใช้งานได้ดีกว่ายี่ห้ออื่นๆ และราคาก็ไม่แพงเทียบกับคุณภาพ แต่ถ้ายี่ห้อที่มือโปรใช้กันก็คงจะเป็น Prismacolor กับ Derwent แต่ราคาก็แพงตามคุณภาพ (ไม่เคยใช้ทั้งคู่)
 6. ปากกาสี มีให้เลือกมากมายหลายแบบในตลาด แต่ที่เด่น ๆก็คงจะเป็น Copic Marker แต่ราคาก็เด่น ด้ามละ 120 บาทขึ้นเท่าที่เจอ ก็เลยไม่ใช้เพราะต้นทุนสูงไปสำหรับงานร่างของเรา ถ้าอยากใช้ Copic โดยมากจะใช้ในโปรแกรม SAI Paint Tool โดยส่วนตัวใช้ปากกาสีจากจีน AIHAO เหตุผล 36 สีในราคา 85 บาท (เน้นปริมาณ ส่วนคุณภาพใช้ฝีมือควบคุม)
 7. กระดาษ ที่ใช้ปกติ A4 80Gram ธรรมดา กระดาษโน๊ต สมุดที่เหลือสมัยเรียน (ซื้อมาเขียน แต่จุดประสงค์รายวิชา)

ต่อไปเป็นภาพที่ได้จากปากกาสี ดินสอสี บนกระดาษแบบต่างๆที่ใช้

อุปกรณ์รวม