ถ้าคุณจิตนาการจะเห็นว่า ภายใน Class จะมีการใช้ Ogre เป็นจำนวนมาก ซึ่งสองอย่างจากทั้งหลายเหล่านั้นก็คือ Vector3 และ ColourValue คุณสามารถทำให้มันง่ายขึ้น เมื่อคุณต้องการใช้
Vector3 และ ColourValue คุณสามารถใช้ tuple แทน เช่น Vector3(50,0,0) และ ColourValue(1,1,1) แทนเป็น (50,0,0) และ (1,1,1)แทน ดังโค้ดต่อไปนี้
sceneManager = self.sceneManager sceneManager.ambientLight = (1, 1, 1) ent1 = sceneManager.createEntity('Robot', 'robot.mesh') node1 = sceneManager.rootSceneNode.createChildSceneNode('RobotNode') node1.attachObject(ent1) ent2 = sceneManager.createEntity('Robot2', 'robot.mesh') node2 = sceneManager.rootSceneNode.createChildSceneNode('RobotNode2', (50, 0, 0)) node2.attachObject(ent2)
Entities more in Depth
Entity class เป็น class ที่มีเนื้อหาที่กว้าง เราไม่สามารถที่จะพูดถึงการใช้งานเกี่ยวกับมันได้หมดในขนาดนี้ ต้องศึกษาเอง แต่จะยกตัวอย่างฟังก์ชั่นบางอย่างที่ให้เป็นประโยชน์ได้มาก 2-3 อัน
คุณสมบัติที่หนึ่ง “visible” คุณสามารถที่จะตั้งให้ Entity สามารถมองเห็นได้หรือไม่ โดยการตั้งให้มันเป็น True หรือ False แทนการที่จะ ลบและสร้าง Entity ใหม่ในแต่ละครั้งซึ่งจะทำให้ต้องมีการ สร้างโหลดทุกครั้งทำให้ไม่เสียเวลาในการ โหลดใน Memory ทุกครั้ง
คุณสมบัติ “name” จะส่งค่าชื่อของตัว Entity กลับ (ค่าอ่านได้อย่างเดียว เราไม่สามารถเปลี่ยนชื่อได้หลังจากสร้างมันขึ้นมาแล้ว)
คุณสมบัติ “parentSceneNode” ส่งค่า SceneNode,entity ที่ผูกติดกลับมัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น