วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ลดความร้อนให้ Acer AO 522 C58KK/8010

ผ่านมาแล้วหนึ่งปีกับ Acer AO 522 C58KK/8010 (รีวิวเก่า) นับว่าทนทีเดียวกับการใช้งานเพราะมันยังไม่พัง โดยสรุปแล้วข้อดีข้อเสียก็ดังนี้

ข้อดี
  • แบตยังดีอยู่ใช้งานได้เกิน 6 ชั่วโมง เสื่อม 19% (Wear level)
  •  ใช้งานได้ปกติ
ข้อเสีย
  • ร้อน
  • ศูนย์บริการ (เชียงใหม่) ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เคยเอาเข้าศูนย์เพราะปัญหา เกิด Flickering บนจอ กลับมาแล้วมีขนตาตกอยู่ในจอภาพด้านใน (ไม่รู้ว่าจากจีนหรือ เชียงใหม่แน่) จากนั้นก็ถอดเอาออก แล้วประกอบเองไม่เคยเอาเข้าศูนย์อีกเลย
  • ปัญหาเกิด Flickering หรือ Noise บนจอ (FAQ จาก ACER) ปัญหาที่เขาว่าเกิดจากการ Sync ระหว่าง จอภาพ LCD กับการ์ดจอ ที่อาจเหลื่อมกันทางเวลา แก้ได้โดยใช้ Driver ใหม่ๆ อัพไบออสใหม่ ตอนนี้ไม่เจออีกเลย ถ้ารู้ตั้งแต่แรกคงไม่เอาเข้าศูนย์ 
สรุปก็คือปัญหาเหลือแต่มันร้อนเวลาใช้งาน ซึ่งตัวผมเองแก้ตามนี้คือ แกะเครื่อง ทำความสะอาด เพิ่มซิลิโคนเชื่อม thermal pad แล้วใช้ BrazosTweaker กดแรงดันไฟเลี้ยง CPU ให้ต่ำลง

ผลที่ได้ลองดูตามภาพ

แกะเครื่องไปถึงข้างใน ฝุ่นเพียบ





 ลำโพงด้านซ้าย


ลำโพงด้านขวาไม่มี คงต้องหามาใส่เอง


ตัว HeatSink, Thermal Pad





ทำความสะอาด

เพิ่ม ตัวนำความร้อน HTK-002

*สำหรับการใส่ตัวนำความร้อน ถ้าใส่เพียงตัวนำความร้อนอย่างเดียว ไม่ใช้ Thermal Pad อุณหภูมิจะพุ่งเร็วมาก แล้วใช้งานหนักจนเครื่องดับ ( 100+ องศา ) จึงต้องใส่ตัวนำความร้อนระหว่างหน้าสัมผัสของ Thermal Pad ทั้งสองด้านเพื่ออุดหลุมอากาศแทน 
  ความเห็นส่วนแล้วคิดว่า ระยะระหว่าง Heat Sink กับ ตัว APU C-50 เองคงมีระยะหว่างพอสมควร ถ้าใช้ตัวนำความร้อนอย่างเดียว ซึ่งมีความหนาแน่น้อยกว่า(เหลว) ไม่เพียงพอที่จะนำความร้อนได้ดีเท่า Thermal Pad อีกทั้ง Heat Sink เล็กมาก เป็นอะลูมิเนียมล้วนด้วย นำความออกไปคงไม่ดีพอ

จากการทำทั้งหมดที่ผ่านมาผลที่ได้ก็ปรากฎดังนี้
ทดสอบทั้งหมดในห้องปิดหน้าต่าง พัดลมตัวเดียวเป่าทั้งคนทั้งคอมพ์ โหมดการทำงาน High Performance ( ทำงานเต็ม 1Ghz ตลอด ) 

ทำงานปกติ เล่นเน็ต ฟังเพลง อุณหภูมิ 61-66 องศา



เต็มกำลังทั้ง CPU GPU อุณภูมิ 73 - 77 องศา (มากสุดตอนกลางวันแบบร้อนจัดๆประมาณ 86 องศา)






หวังว่าทั้งหมดคงเป็นแนวทางสำหรับคนที่สนใจแงะแกะเครื่องตัวเองได้บ้าง สำหรับใครที่ไม่อยากแงะแกะเครื่อง แต่อยากให้เครื่องเย็นๆ ก็ลองใช้แค่ BrazosTweaker ดูซึ่งค่าที่ผมใช้ในการปรับค่าก็คือ
แก้เฉพาะค่าแรงดันไฟเลี้ยง CPU เท่านั้น 
P0 VID = 0.9
P1 VID = 0.8
P2 VID = 0.4 (default)


ระวังอย่าปรับต่ำเกินเครื่องจะค้าง จากนั้น Apply
ถ้าพอใจค่าที่ต้องการ (ต้องตั้งค่าให้เสถียรก่อนจริงๆ ไม่งั้นต้องไปแก้ใน Safemode) ต้องการปรับให้ทำงานทุกครั้งที่เปิดเครื่อง เลือก Service... เลือก Make custom P-state setting Permanent เลือก Update

ปล. การปรับค่าแรงดันไฟเลี้ยง CPU มีความเสี่ยง ควรศึกษาให้ดีก่อนกระทำ หรือถามผู้เชี่ยวชาญ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น