วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

Review: ACER 522 C58KK/8010

  ช่วงนี้บทความพวกงานกราฟฟิกยังไม่ได้เขียนต่อ เพราะงานมันรุม เลยเหลือแต่พวกรีวิววันนี้ก็ รีวิวอีกครั้ง กับเน็ตบุค Acer 522 ที่ใช้ AMD Ontario C-50 ในแพล็ตฟอร์มของ AMD Fusion รายละเอียดนั้นลองค้นหาในอิเตอร์เนตเองนะครับ
  เครื่อง Acer 522 C58KK/8010 ตัวนี้เป็นรุ่นที่มีการปรับปรุงจากรุ่นเดิมคือ แถม Windows 7 Starter และ Ram 2 GB ราคาก็เลยสูงกว่ารุ่นเดิม สำหรับตัวนี้ซื้อมาราคารวมภาษีประมาณ หมื่นสองพันบาท จาก SiamTV ลำพูน ซื้อที่นี้เพราะใกล้บ้านครับ ขี้เกียจเข้าไปเชียงใหม่น้ำมันแพง

กล่องของ Acer 522
  เรามาดูกล่องของเครื่องนี้กันเลยดีกว่าครับ ขนาดเล็กกว่ากระเป๋าโน๊ตบุค 14 นิ้ว ยกเว้นความหนากล่อง



ตัวเครื่องของ Acer 522
ตัวเครื่องของ Acer 522 นั้นออกแบบมาสวยงาม น้ำหนักเบาพอสมควร

ด้านล่างตัวเครื่องมีช่องของลำโพงที่เป็นแถบยาวบริเวณด้านหน้าเครื่อง และช่องระบายความร้อนอันเล็กๆ ใกล้ๆกับพอร์ต VGA
 วัสดุทำกรอบจอบมีความเงาเป็นรอยง่าย

ด้านหน้าเครื่องโดยรวม มีเมาส์แพต อันเล็กๆ


มีไฟแสดงสถานะด้านหน้า Power, Baterry(ชาร์จเป็นสีส้ม ชาร์จเต็มสีน้ำเงิน) Harddisk, Wireless
ด้านซ้ายตัวเครื่อง ที่เสียบชาร์จไฟ VGA สามช่องเล็กๆ ช่องระบายความร้อน USB USB และ HDMI

จากภาพจะเห็นช่องระบายความร้อน ที่เล็กมากทำให้เวลาใช้งานบริเวณนี้ และด้านล่างตัวเครื่องฝั่งซ้ายใกล้ๆ ช่องนี้ร้อนมาก ไม่เหมาะจะเอาวางบนตัก แต่ด้านบนบนตัวเครื่องทั้งคีย์บอร์ดไม่ร้อนเลย

ด้านซ้ายของตัวเครื่อง มีช่องอ่านการ์ดต่างๆ Mic Phone USB KeyLock LAN


รายละเอียดของเครื่อง และโลโก้บนเครื่อง

เปรียบเทียบขนาดเครื่อง Acer 522 กับอุปกรณ์อื่นๆ



เทียบกับ Kindle Dx  

เทียบกับโน๊ตบุค Compaq, IBM ThinkPad, fujitsu 

ทดสอบการใช้งานและคะแนนทดสอบ
ในการทดสอบทั้งหมดผมปรับ Power Plan เป็น High Performance



 ใช้งานทำงาน 3D เล็กๆน้อยบน Blender 3D พร้อมทั้ง Render



เล่นไฟล์ HD (1280x270) ลื่นไม่กระตุกเต็มจอภาพพอดี ดูรายละเอียดไฟล์ใช้เล่นได้ที่ภาพครับ



 เล่นไฟล์ HD (1920x1040) ลื่นไม่กระตุกเต็มจอภาพพอดี ดูรายละเอียดไฟล์ใช้เล่นได้ที่ภาพครับ ไฟล์นี้เล่นบนเครื่อง Compaq V3000 กระตุกมากดูไม่เป็นเรื่องเลย เสียงไม่ทันออกด้วย : (
 สำหรับไฟล์ที่ความละเอียดสูงกว่านี้ และมีบิทเรตสูงกว่านี้ไม่ได้ทดสอบ เพราะไม่มีไฟล์ทดสอบ อีกทั้งปกติก็ดูไฟล์ภาพขนาดไม่ใหญ่มากกว่านี้ เพราะดูบนโน๊ตบุคเป็นหลัก


 คะแนนจาก Windows 7 ก็ได้ตามภาพ CPU ได้คะแนนน้อยสุด

การใช้งาน Battery และอุณหภูมิ
  สำหรับเครื่องนี้คนที่ซื้อก็คือพี่ผมกีแล้ว เนื่องจากเขาต้องการโน้ตบุคเล็กๆ ที่สามารถพกติดตัวได้ง่าย ใช้งานได้นานเพราะต้องใช้งานระหว่างการสอนหนังสือ ซึ่งเครื่องนี้ก็ตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งพกไปกับเครื่อง Kindle DX ยังกระเป๋าโล่งๆ ไม่หนักอะไรมากด้วย
  การทดสอบโดยทำงานบนแบตเตอรี่นั้นผมขอทดสอบคร่าวๆ คือเปิดใช้งานซักพักแล้วดูเวลาที่มันสามารถใช้งานได้ โดยเลือกปรับโหมดการทำงานเป็นสองแบบดังนี้

ประหยัดพลังงานสุดๆ ปรับใน Catalyst Control Center เลือก Presets เป็น Battery Saver ตัวซีพียูจะทำงานที่ 800 Mhz ตลอด มันจะแสดงเป็น AMD Power Plan


 ปรับให้ใช้งานประสิทธิภาพสูงสุด ปรับที่ Power Options ของ Windows 7 เป็น High Performance

อุณหภูมิ


อุณหภูมิตอนเปิดครื่อง ในห้องแอร์ใช้งานปกติ อุณหภมิประมาณ 30 องศาเซลเซียลกว่าๆ แต่ถ้าเปิดเครื่องนอกบ้านช่วงฤดูร้อน และเล่นหนักหน่วงอุณหภูมิเหยียบ 80 องศาเซลเซียล แต่ว่าร้อนเฉพาะตัวเครื่องด้านล่างฝั่งซ้ายเท่านั้น ด้านบนตัวเครื่องบริเวณคีย์บอร์ดไม่ร้อนเท่าไหร่

สรุป


  เครื่องนี้เหมาะกับคนที่ชอบพกพาเครื่องโน๊คบุค หรือเน็ตบุคที่ต้องการประสิทธิภาพและการให้งานที่ยาวนาน (ถ้าลองใช้เครื่อง Intel Atom คุณจะรู้ถึงความแตกต่างของประสิทธิภาพ) แต่ไม่แนะนำวางบนตักมันร้อน
  ส่วนการใช้งานประเภททำงานกราฟฟิค ก็ทำได้ในระดับหนึ่ง ในการพัฒนาโปรแกรมนั้นทำได้ครบพอสมควรถึงจะช้าในการคอมไพล์บ้าง แต่ถ้าจะพัฒนาโปรแกรมสำหรับ Windows Phone 7 หรือ Android ไม่แนะนำ เพราะทดสอบการรันเครื่อง Emulator แล้วมันไม่ขึ้น บางครั้งกว่าจะขึ้นก็ช้ามาก...มาก ควรหาตัวเลือกอื่น เพราะคิดว่าตัว AMD C-50 นั้นช้าเกินว่าจะทำงานประเภทนี้ได้ สำหรับการรีวิวนี้ก็จบเพียงเท่านี้ครับ

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ25 กรกฎาคม 2554 เวลา 18:11

    ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลดี ๆ

    ตอบลบ