วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

ลองเล่นเครื่อง otpc

ได้มีโอกาสลองเล่นเครื่อง otpc ซึ่งเป็นเครื่องที่แจกให้ศึกษานิเทศได้ทดสอบใช้งาน ก็เลยขอยืมนำมาทดสอบพอประมาณเพื่อดูขีดจำกัดของมัน เพื่อถ้าใครต้องการเขียนโปรแกรมบนเครื่องนี้ ก็ควรจะได้รู้เอาไว้

ดูภาพถ่ายภายนอกแล้วลองนึกดูว่ามันคืออะไรบ้าง






 ถ่ายระยะใกล้แสงแดดจ้า


เทียบความสว่างของจอภาพกลางแดด M700 vs otpc vs T4220


ตัวเครื่องของ otpc เป็นอะลูมิเนียมสีเงิน แบบ Unibody สีเงิน สากมือ
สำหรับสเปคของเครื่องที่ได้ลอง
จอภาพ 7 นิ้วความละเอียด 1024x600
หน่วยประมวลผล RK2906 1.2 GHz
แรม 1GB
SDCard เก็บข้อมูลในเครื่อง 8 GB แถม SDCard ด้านนอก 32GB
Multitouch 5 จุด
กล้องหน้า 2MP (1200x1600)


เซนเซอร์ตรวจจับต่างๆ
  3-axis Accelerometer
  Magnetic field sensor
  Orientation sensor
  Proximity sensor
  Light sensor
ใช้ Android 4.0.3 ICS

สำหรับหน่วยประมวลผลด้านในเป็น Rockchip 29xx Series ซึ่งผมคาดว่าน่าจะเป็นรหัส RK2906 เพราะไม่มีช่องต่อ HDMI
รายละเอียดของตัว RK2906 คร่าวๆ
  Cortex A8 processor, clocked at up to 1.2 GHz. (ไม่ Dual-Core)
  NEON SIMD support.
  Vivante GC800 GPU
  DDR, DDR2, DDR3 support.
  Adobe Flash Player 10.1

ดูรายละเอียดเพิ่มที่ Rockchip

เทียบความสามารถระหว่างหน่วยประมวลผล RK2918 VS AllWinner A10 VS AML8726-M3
หรือเปรียบเทียบง่ายๆ

ใช้งานทั่วไป เล่นเว็บ : A10>RK29>AML

เล่นไฟล์วีดีโอ : A10>AML>RK29

เล่นเกม : RK29>A10>AML (เนื่องจาก RK29 ใช้ Clock สูงถึง 600 MHz)

ความเข้ากันได้ของเกม : A10=AML>RK29 (เพราะ A10 และ AML ใช้ Mali400 ส่วน RK92 ใช้ GC800)





สำหรับผู้ที่ต้องการเขียนโปรแกรม
ไลบรารีสำหรับเขียนเกมที่ทดสอบไปแล้ว Rajawali Libgdx สามารถให้งานได้ดี

ข้อดีของเครื่องนี้
ตัวเครื่องแข็งแรง จอชัด ตอบสนองการใช้งานทั่วไปได้ดี

ข้อเสีย
ปิดเครื่องชาร์จ ไม่ได้ คือถ้าปิดเครื่องอยู่ กรณีถ้าเสียบสายชาร์จเครื่องจะเปิดขึ้นทันที ร้อนเมื่อทำงานหนัก อาจจะเนื่องจากตัวหน่วยประมวลผล มี Clock สูงถึง 1.2 Ghz และผลิตที่ 55 nm




สรุปแล้ว
สำหรับซอฟแวร์ในเครื่อง เข้าใจว่าสื่อหลายอย่างแปลงมาจาก Flash ทำให้เวลาใช้งานจริงมีหน่วง
ไฟล์ .swf ต้องเปิดด้วย SWF player คลาดว่าไฟล์สื่อเก่าๆ อาจมีสคริปควบคุมเป็น ActionScript 20 ซึ่งแปลงเป็น Adobe AIR ตรงๆ ไม่ได้เพราะ Adobe AIR ต้องใช้ ActionScript 3.0
สำหรับสื่อและบทเรียนต่างๆ คาดว่าต้องปรับปรุงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีผลตอบกลับจากผู้ที่ได้ใช้งานแล้ว

ถ้าจะซื้อเครื่องนี้ ดูตามนี้ http://otpc.in.th/faq.html เห็นว่าราคา 4,000 ไม่รวมค่าอื่นๆ ส่วนตัวถ้าถามผมว่าน่าซื้อไหม ถ้ามองจุดประสงค์เพื่อการศึกษานั้น ถ้าซื้อเครื่อง Scopad นี้แถมซอฟแวร์เพื่อการศึกษา ซึ่งรวมถึงการเข้าถึงซอฟแวร์อื่นที่อาจเพิ่มเข้ามาในอนาคต ก็ถือว่าคุ้มค่าตามจุดประสงค์ทางการศึกษา และเครื่องก็มีประกันกับตัวแทนศูนย์บริการในไทย เช่น Advice
แต่ถ้าต้องการราคาถูกว่านี้ก็ยังมีตัวเลือกอื่นๆอีก

ปล.ผลทดสอบหลายอันไม่ได้ลง เนื่องจากเกรงว่าอาจผิดข้อตกลงบางประการ แต่สำหรับใครที่อยากรู้ว่าประสิทธิภาพของเครื่องนี้อยู่ในระดับไหนลองหาผลทดสอบของ tablet ที่ใช้ RK2906 ดูกันไปก่อน แต่ที่แน่น เครื่องนี้ประสิทธิภาพสู้ viewsonic 10s ที่ใช้ Tegra 250 ไม่ได้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น