วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ศิลปะ กับการวาดภาพโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ : การมองเห็น (Seeing)

การมองเห็น (Seeing)
ก่อนที่จะไปถึงขั้นตอนและเทคนิคการวาดนั้น มาทำความเข้าใจตัวของเราเอง ก่อนที่จะวาดภาพ อย่างแรกที่เราควรรู้ก็คือสมองของมนุษย์เรานั้นไม่สามารถที่จะเก็บข้อมูล หรือรองรับกับข้อมูลจำนวนมากได้ แต่มันมีประสิทธิภาพ ในการพัฒนาที่ยืดหยุ่นสำหรับงาน ธรรมดาทั่วไปและงานซ้ำ ตัวอย่างที่จะเปรียบเทียบง่ายๆ การคำนวณทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องอาศัย ความรู้ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ในการคำนวณควบคู่กัน กับ การบวกลบเลขธรรมดาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ (ดูในคลิป  1   2 ) เราคงจะเห็นว่าจำนวนของคนที่มีความสามารถเหล่านี้ และความเร็วในการทำงานนั้น แตกต่างกันมาก แต่ไม่เป็นไรครับเรามาดูในจุดที่เราต้องการดีกว่า สมองของเรานั้นรับรู้ถึงภาพจากดวงตา ซึ่งเมื่อประมวลผลแล้วจะมีเพียงข้อมูลส่วนน้อยเท่านั้น ที่ส่งให้เราได้เก็บไว้ หรือให้ความสำคัญกับมัน (บางคนก็ประมวลมากเกินทำให้เห็นภาพเยอะไปหน่อย ช่วงเวลาใกล้หวยออก) ตัวอย่างถ้าเราฟูดถึงใบของพืชซักชนิดหนึ่ง แวบแรกที่เกิดขึ้นในหัวก็คือสีของใบ(บางคนตอบเขียวไว้ก่อนเลย) ลักษณะใบคร่าวๆ ซึ่งถ้าให้วาดภาพนั้นก็จะได้รูปที่ไม่มีรายละเอียด และใครบางคนที่ไม่เคยเห็นต้นพืชนั้นจริงๆ ก็อาจวาดออกมาจากความคิดของตนหรือหลอกตัวเองว่าเคยเห็นและมันต้องเป็นภาพแบบนี้ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั่นก็เป็นโชคร้ายสำหรับเราเองที่ต้องทำงานศิลปะ เพราะสมองของเรามีการปรับเพิ่มถึงการรู้ภาพของเรา ทำให้เราไม่เห็นในสิ่งที่ควรเห็นจริงๆ (อาจจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยว กับเรื่องความรักทำให้คนตาบอด) และเพื่อเป็นการปรับข้อเสียที่ว่านี้ เราจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ ถึงการรับรู้ของเราใหม่

Unwrap แกะและคลี่มันออกมาดูทุกด้าน เพราะโดยปกติแล้วเราเห็นอะไร ก็ไม่ได้ใคร่ครวญ พิจารณาสิ่งที่เห็นดีเท่าไหร่ รวมถึงมองรูปร่างของมันให้หมดทุกด้าน ตัวอย่างเช่น เวลาเรามองเห็นกล่อง จากด้านหน้า หรือหลายๆด้านในเวลาเดียวกัน ด้านข้างของกล่องจะต้องดูไม่เอียงหรือเฉียง สำหรับเรา
Exposure ต้องเราใจว่าในบางครั้งบางที วัตถุบางอย่างไม่ว่าอยู่ในเงา (ที่มืด) หรืออยู่ในแสง ก็ดูเหมือนกัน เพื่อให้ตัวเราเข้าใจว่าบางทีแสงมาหรือน้อยก็ไม่ได้ทำให้วัตถุ ที่ควรเห็นนั้นเปลี่ยนแปลงไปตัวอย่างเช่น รองเท้าผ้าใบสีดำ ที่ตากในร่มกับตากแดด
White Balance ความสมดุลของสีขาว มีความจำเป็นที่เราต้องรู้เพื่อตระหนักว่า ในแต่ละที่ที่มีแหล่งกำเนิดแสงไม่เหมือนกัน หรือแสงไม่เท่ากัน จะทำให้สีขาวที่เราเห็นไม่เหมือนกัน ซึ่งเราจะเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ได้จากการใช้กล้องที่ได้ตั้ง white balance คงที่ มาถ่ายภาพเดียวกันในช่วงเวลาต่างๆกัน สามารถดูตัวอย่างภาพได้จากการค้นหาทางอินเตอร์เน็ต
Distance scaling ระยะทางไม่ได้ทำให้ให้ขนาดของสิ่งที่เห็นนั้นเล็กลงหรือใหญ่ขึ้น ขนาดของมันยังเท่าเดิม เพียงแต่การรับรู้จากการเห็นด้วยตา ขนาดเล็กใหญ่ของมันทำให้รู้ว่าอยู่ใกล้หรือไกล
ในการวาดนั้นควรเริ่มจากหัดวาดภาพ ภาพเรียบๆ (ภาพลายเส้น ไม่ลงสีลงเงา) ก่อนซึ่งช่วยให้เห็นสัดส่วนของภาพ มุมมองที่ดูบิดเบือน อัตราส่วนและขนาดสิ่งที่วาด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น