มีบทความและหนังสือมากมายเป็นร้อยเป็นล้านเล่ม ที่อยู่ในรูปแบบของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นที่นิยม เช่น .PDF, .DJVU, .CHM หรืออื่นๆ ที่หลายๆท่านคงโหลดมาเก็บเอาไว้ จะได้อ่านบ้างหรือไม่ได้อ่านบ้างก็สุดแล้วแต่ละท่านเอง ข้อดีของหนังสือเหล่านี้ที่เห็นเป็นรูปเป็นร่างที่สุด ก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของการจัดเก็บของไฟล์หนังสือ ที่สามารถเก็บบันทึกไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ หรือสื่อบันทึกข้อมูลอื่น เช่น Flash Drive, CD, DVD รวมถึงการโยกย้ายหนังสือก็ทำได้ง่ายและประหยัดพื้นที่จัดเก็บ
มีคนเคยถามผมว่าหนังสือ ที่ดาวโหลดจากอินเตอร์เนตนี้มันผิดกฎหมายไหม ? .... ก็ต้องตอบกันตามตรงว่ามันก็มีทั้งที่ให้โหลดฟรี และก็ผิดกฎหมาย เหมือนกับสิ่งอื่นๆ ที่มีอยู่มากมายเกลื่อนอินเตอร์เนต ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หนัง เพลง รูปภาพ เป็นต้น ที่มีให้โหลดกันตามเว็บที่เปิดให้ฝากไฟล์ต่างๆ ทั้งในไทยและต่างประเทศ ตามที่สามารถเจอลิงค์ได้ในเว็บบอร์ด บล็อกต่างๆ โดยทั่วไป และคนที่เข้ามาเสพสื่อต่างๆในอินเตอร์เนต ก็เข้าไปใช้เข้าไปใช้และโหลดกันจนเป็นเรื่องปกติ
มันผิดไหมกับเอาของที่มีลิขสิทธิ์ หรือผิดกฎหมายมาแจกกันจนเป็นเรื่องปกติ ? .... ผิดนะตามกฎหมาย แต่สิ่งที่เราเห็นกันเหล่านี้เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึง ความเป็นอินเตอร์เนตที่ค่อนข้างชัดเจนในความคิดของผม ก็คือประชากรผู้ใช้งานอินเตอร์เนต ก็เหมือนประชากรบนโลกความจริงที่เราเห็นคร่าวๆมีทั้ง
- คนที่มีความรู้ คอยตอบปัญหาต่างในเว็บบอร์ด เขียนบทความให้ความรู้ เราจะเจอบ่อยถ้าค้นผ่าน google, bing
- คนไม่มีความรู้ คนที่มักถามข้อสงสัยต่าง หรือเรื่องที่สงสัยกับคนที่มีความรู้
- คนที่ขาดสติ ผมขอเปรียบเป็นพวกที่มักจะพิมพ์อะไรออกมาบนโลกอินเตอร์เนต จนทำให้เกิดความขัดแย้ง หรือดราม่า ตัวอย่างเช่น พวกแฟนบอยของยีห้อต่างๆ บ้าดารา บ้านักร้อง และพวกที่มาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยที่อาจเรียกกันว่า "เกรียน"
- คนค้าขายที่สุจริต เป็นพวกค้าขายของบนอินเตอร์เน็ตที่ พูดจริงทำจริง บริการลูกค้า
- คนค้าขายที่ทุจริต เป็นพวกค้าขายของบนอินเตอร์เน็ตที่ พูดอย่างทำอย่าง บริการลูกค้าอีกอย่าง
- คนที่คอยคุม ทำหน้าที่คอยควบคุมทิศทางเว็บว่าจะไปทางไหนสายมืด หรือขาว ซึ่งสามารถแฝงตัวเป็นได้หลายรูปแบบดังที่กล่าวมาด้านบน
- คนไม่ใช่คน พวก Bot ต่างที่ทำหน้าที่ตามโปรแกรมที่เขียนขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลเว็บที่เจอ การเข้าไปโพสตามเว็บต่างๆ เป็นต้น ซึ่งมีความสามารถที่เหนือมนุษย์ทั้งทางด้านความเร็วและการตัดสินใจ จับตัวได้ยาก
- กฎหมายที่คอยควบคุม เข้าใจง่ายๆก็คือ กฎหมายที่เชื่่อมสิ่งที่เกิดขึ้นบนอินเตอร์เนตกับโลกของความจริงใช้เป็นไปตามสิ่งที่กฎหมายได้วางกรอบเอาไว้
ดังที่กล่าวมาทั้งหมดคงจะรู้แล้วว่า ถ้าเราจะทำทุกอย่างให้ถูกต้องทั้งหมด ก็ต้องปรับให้คนทั้งหมดที่ใช้งานอินเตอร์นั้นให้รู้ ให้สามารถ และมีความคิดที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งมันเป็นอุดมคติมาก ทำได้ยาก แต่ก็ทำได้โดยเริ่มจากตัวเราเองก่อน(จะทำได้ไหม..?)
เข้าเรื่อง E-Reader และ E-Book
กลับเข้าสู่ปัจจุบันกับเทคโนโลยีของเครื่องอ่าน E-Book ที่เราเรียกว่า E-Reader ซึ่งพึ่งจะได้รับความนิยมได้ไม่นานโดยมีเจ้าตลาดที่เปิดตลาดและได้รับความนิยมสูงก็คือ Kindle จาก Amazon ซึ่งหลังจากที่กระแสของเครื่องอ่านอีบุคต่างๆนั้นเริ่มมีผู้ให้ความสนใจอย่างล้นหลามก็มีอีกหลายบริษัทที่เข้ามาสู่ตลาดมากมาย หลากหลายยี่ห้อ ดูยี่ห้อต่างๆคลิกตรงนี้ แต่ถามว่ามันเหมาะกับเราไหม ทำไม จะเลือกอย่างไร ? ตรงนี้น่าจะเป็นสิ่งที่น่าจะให้ความสนใจมากกว่า ย้อนไปดูเรื่องการอ่านหนังสือโดยปกติกันก่อน ถ้าถามว่าหนังสือรูปแบบใดที่เราใช้เวลาอ่านมากที่สุด หลายคนก็คงมีหลากหลายคำตอบ ดังนั้นก็ขอวัดกันด้วยเนื้อหาข้างในกับจำนวนหน้าก็แล้วกัน ซึ่งจากที่สังเกตมาแล้วได้อ่านหนังสือหลากหลายแบบ ก็อาจจะพูดได้ว่า หนังสือประเภทนิยาย หรือหนังสือที่นำเสนอเรื่องราวต่างๆ ทั้งเรื่องจริงที่บันทึกหรือเรื่องที่แต่งขึ้นนั้นเราใช้ระยะเวลาอ่านนานที่สุด ตัวอย่างเช่น พระไตรปิฏก พระคำภีร์ต่างๆ พงศาวดาร นิยายเรื่องแฮร์รี่พอตเตอร์ เป็นต้น ซึ่งที่ยกตัวอย่างมานั้นมีเรื่องราวที่เกิดขึ้นไม่ซ้ำ และจำนวนหน้ามากระดับพันหน้าขึ้นไป ถ้าเป็นหนังสือให้อ่านก็คงจะนอนอ่านกันไม่ได้ เพราะถ้าเผลอหนังสือหลุดมือก็เป็นเรื่อง
หลายคนอาจจะค้านความคิดของผมในเรื่องประเภทหนังสือที่ผมคิดว่าใช้เวลาในการอ่านที่สุด ว่าทำไมไม่ใช่หนังสือเรียนวิชาต่างๆ หรือหนังสือที่เกี่ยวกับวิชาการ ผมก็ต้องขอบอกว่า คนที่ใช้เวลานานในการอ่านหนังสือเรียนหรือวิชาการ ก็เพราะอ่านแล้วไม่เข้าใจ หรือต้องการหาแหล่งอ้างอิงความรู้ต่างๆ ซึ่งอาจสามารถช่วยได้โดยการถามคนอื่นที่มีความรู้บ้าง เพราะบางครั้งการหมกมุ่นในเรื่องหนึ่งๆ นานๆ ไม่สามารถทำให้เราเข้าใจมันได้หรอก ทำอย่างอื่นบ้าง บ้างทีอยู่ดีๆ อยู่สงบก็คิดออกและเข้าใจได้ง่ายๆ อีกทั้งเนื้อหาทางวิชาการนั้นมักจะเกริ่นด้วยเรื่องที่ซ้ำกับที่เรียนมาแล้ว และจำนวนหน้าก็ไม่ได้เยอะมากมาย ตามเกณฑ์ ที่ผมบอกไปแล้ว
เรื่องของแฟชั่นต่างๆ ในปัจุบันก็ปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้การใช้งานเครื่องอ่าน E-Book ได้รับความนิยม เพราะทุกคนต้องการดูดี การที่จะมาแบกกระเป๋าใบใหญ่ๆ ใส่หนังสือก็คงจะทำบากจะทำให้เราดูไม่ค่อยจะดูดี ตามแฟชั่นมากนัก ตัวอย่างถ้าให้ถือ iPad เล่นเน็ตบนรถไฟฟ้า กับเป็นเปิดโน้ตบุค Acer คุณจะเลือกอะไร ? ถ้าเป็นไปตามใช้งานแล้วแค่เล่นเน็ตหรือใช้งานเล็กน้อย และการพกพารวมถึงรูปทรงที่สวยงาม คุณคงเลือก iPad (ถ้ามีเงินพอซื้อและเราใช้งานแค่นั้นจริงๆ)
จากข้อความที่กล่าวมา ถ้าจะให้ผมสรุปว่าความเหมาะสมในการใช้งาน E-Reader นั้นจะเหมาะสมเมื่อใดนั้นก็คงสามารถ แสดงเป็นรายการได้ดังนี้
- คุณอ่านหนังสือเป็นเวลานาน
- คุณมีหนังสือเล่มใหญ่ หรือจำเป็นต้องพกหนังสือจำนวนมาก
- หนังสือที่คุณสนใจมีอยู่ในรูปแบบ E-Book เป็นจำนวนมาก
- ต้องการมีท่าทางในการอ่านหนังสือที่หลากหลาย
- มีเงิน
แล้วเราจะเลือก E-Reader เครื่องไหนละ ? สำหรับเรื่องนั้นคุณต้องตัดสินใจเองโดยดู เปรียบเทียบคุณลักษณะของเครื่อง E-Reader ที่มีคุณสมบัติหลักๆดังนี้
- ขนาดของจอ ถ้าจอใหญ่อ่านง่ายพกยาก จอเล็กอ่านยากพกง่าย อันนี้ขึ้นอยู่กับสายตาผู้เลือกเอง
- เทคโนโลยีของจอภาพของเครื่องมีหลายแบบแต่จะผู้ถึงอันที่ผมรู้จักคือ
- Electronic Paper เช่น E-ink ,SiPix อาศัยแสงจากภายนอกซึ่งให้ภาพที่เหมือนอ่านบนกระดาษจริงๆ ประหยัดไฟมาก แต่การเปลี่ยนภาพบนจอช้า แสดงภาพเป็นแบบ grayscale 16 ระดับ
- Reflex LCD อาศัยแสงจากภายนอก ประหยัดไฟ การเปลี่ยนภาพบนจอช้าถึงช้ามาก (1.8-8 วินาที อ้างจาก Fujitsu FLEPia ) จอภาพสี 64 ระดับ
- mirasol display อาศัยแสงจากภายนอก การเปลี่ยนภาพบนจอเร็ว ประหยัดไฟ(ปัจจุบันยังไม่จำหน่าย) จอภาพสี
- monochromatic LCD อาศัยแสงจากภายนอก การเปลี่ยนภาพบนจอเร็ว ประหยัดไฟ แสดงภาพเป็นแบบ grayscale 64 (เหมือจอเกมบอยรุ่นเก่า แต่เทคโนโลยีใหม่กว่าละเอียดกว่า)
- จอกลุ่ม LCD ใช้แหล่งกำเนิดแสงเอง (Back-light) การเปลี่ยนภาพบนจอเร็ว แสดงภาพสี (เหมือนจอโน้ตบุคปกติ)
- การควบคุม ใช้ปุ่มกด จอสัมผัส
- สนับสนุนไฟล์ที่อ่านได้
- การเชื่อมต่อภายนอกเช่น USB, WiFi, 3G เป็นต้น
- ความสามารถอื่นเช่น ช่องเพิ่มหน่วยความจำ ไมค์บันทึกเสียง ช่องเสียบหูฟัง ปากกาสำหรับเขียนบนจอ
- ราคา
จะหาซื้อได้ที่ไหนบ้าง ?
สั่งต่างประเทศ Amazon ,E-bay ,Yahoo เป็นต้น
ในไทยถ้าเป็น Kindle ก็ http://www.read.in.th/ ยี่ห้ออื่นที่หลากหลายก็ http://it-blvd.weloveshopping.com
ชุมชนรักการอ่านในไทย http://weread.in.th/
ตัวอย่างการเปรียบเทียบ E-Reader ต่าง ๆ แบบรวมๆ
สำหรับผมผู้เขียนพี่ชายมี Kindle DX อยู่แล้วก็ได้เคยใช้อ่านหนังสือสบายตาดี ใช่งานง่ายก็ดีในระดับหนึ่งแต่โดยส่วนตัวแล้วชอบ ขีดเขียนไปด้วยไม่อ่านเฉยๆ ก็เลยอาจได้ Asus eee note EA-800 มากกว่าดังตัวอย่าง
ดูภาพแบบใกล้ๆ หน้าจอและรีวิวแบบละเอียดยิบได้ตามลิงค์นี้ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น